วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

บทที่ 4 ธรณีวิทยาประเทศไทย

ธรณีวิทยาประเทศไทย
ประเทศไทยประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกดินขนาดเล็ก ซึ่งเป็น แนวตะเข็บที่เชื่อมต่อกัน 2 แผ่น คือ แผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย อยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ครอบคลุมบริเวณ บริเวณภาคเหนือ ตะวันตก – ภาคใต้ของประเทศไทย รองรับด้วยหินตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และมหายุคซีโนโซอิกเป็นส่วนใหญ่ แผ่นเปลือกโลกอินโดจีน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ครอบคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – ภาคตะวันออกของประเทศไทย รองรับด้วยหินมหายุคพาลีโอโซอิกมหายุคมีโซโซอิก และมหายุคซีโนโซอิกเป็นส่วนใหญ่ หินต่าง ๆ ที่รองรับพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียนถึงตะกอนยุคควอเทอร์นารี มีการแผ่กระจายดังนี้ -หินมหายุคพลีแคมเบรียน -หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่าง -หินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน -หินมหายุคมีโซโซอิก -หินมหายุคซีโนโซอิก -หินยุคควอเทอร์นารี

ประเภทของหิน
การศึกษาเรื่องหินได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 สาขาที่สำคัญ คือการศึกษาเชิงธรณีวิทยา เพื่อให้รู้ถึงลักษณะการเกิด ประวัติ ความเป็นมาของหินการศึกษาเชิงวิศวกรรม เพื่อให้รู้ถึงคุณสมบัติของหินเพื่อจะนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ โดยทั่วไปการจำแนกประเภทหินแบ่งตามได้ ดังนี้ - หินอัคนี (Igneous Rock) - หินตะกอน (Sedimentary Rock) - หินแปร (Metamorphic Rock)





วัฏจักรของหิน

วัฏจักรของหินจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดัน การผุพัง และการกัดกร่อน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบจะไม่ถูกทำลาย แต่จะวนเวียนกลับมาเป็นส่วนประกอบของหินที่เกิดขึ้นใหม่



หินอัคนี (Igneous rock)

กระบวนการเกิด : (Igneous Process) หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดหรือลาวา ซึ่งจะเย็นตัวลงแล้วตก ผลึกหินหนืดที่แข็งตัวให้เปลือกโลกในระดับที่สึกจะเป็นหินพลูโทนิค (Plutonic Rock) หรือเรียกว่าหินอัคนีระดับลึก จะมีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ ลาวาหรือหินหนืดบางส่วนที่เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงบนพื้นโลกก็จะเกิดเป็นหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) จะมีเม็ดแร่ขนาดเล็กละเอียดในกรณีที่หินหนืดมีการแทรกซอนเข้าใกล้ผิวโลกแล้วเย็นตัวลงจะทำให้เกิดหินอัคนีที่มีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ปะปนกับเม็ดแร่ขนาดเล็ก ลักษณะพื้นฐานเม็ดแร่จะจับตัวกันแน่น (Interlocking) จะมีความพรุนต่ำ เนื้อหินจะสมานกันแน่นทั้งก้อน (Massive) ไม่พบรอยแตก แร่ในเนื้อหินจะไม่ค่อยพบกับการจัดเรียงตัว มีแร่เฟลด์สปาร์สูง และจะมีแร่เด่น คือ แร่เพลด์สปาทอยด์ โอลิวีน โครไมต์บางส่วนในเนื้อหินจะมีแก้วธรรมชาติปะปนอยู่บ้าง





หินแปร (Metamorphic Rock)

กระบวนการเกิด : (Metamorphic Process)เป็นหินที่เกิดจากสภาวะการแปรสภาพจากหินอื่น ๆ ซึ่งจะมีอิทธิพลจากอุณหภูมิ ความดัน และสารประกอบทางเคมีของแร่ การเปลี่ยนแปลงจะมีทั้งลักษณะโครงสร้างของหิน และส่วนประกอบของแร่ ซึ่งจะมีการปรับสภาพให้อยู่ในสภาวะสมดุล ภาวะเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจะมีการบีบทำลายเม็ดแร่ (Crushing of Grain) มีการเกิดผลึกใหม่ (Recry Stallization) มีการยึดประสานของเม็ดแร่ (Interlocking of Grain) และการเพิ่มขนาดของเม็ดแร่ (Increasing of Grain Size)ลักษณะพื้นฐานในหินแปรบางชนิดจะมีแร่เรียงตัวแบบมีทิศทาง เป็นแนวยาวขนาน ลักษณะเป็นแผ่นโค้งงอ แต่ถ้าไม่มีการจัดเรียงตัว ก็จะจับประสานกันแน่นคล้ายกับหินอัคนี รูปร่างของเม็ดแร่จะเป็นวงรี หรือเป็นแผ่นเกล็ด จะมีการปรับสภาวะสมดุลของเนื้อหินให้เข้ากับความดันและอุณหภูมิที่กระทำ จะมีแร่การ์เนต เทรโมไลต์ ทัลก์ และเซอร์เพนทีน ซึ่งเป็นแร่เด่นที่พบในหินแปร



หินตะกอน(Sedimentary Rock)

กระบวนการเกิด : (Sedimentary Process)หินตะกอนเป็นหินที่มีมากถึง 75% ของหินบนพื้นผิวโลกจะเกิดจากอิทธิพลทางเคมีหรือทางกายภาพ ซึ่งทำให้ตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินใด ๆ ก็ได้ จะมีการทับถมและผ่านกระบวน ซึ่งจะทำให้แข็งอัดตัว โดยอุณหภูมิและความดัน จึงกลายเป็นหินตะกอนอยู่กับที่ แต่โดยส่วนมากแล้วมักจะถูกกระแสลม กระแสน้ำ หรือแรงโน้มถ่วงของโลก พัดพาไปสะสมในแหล่งอื่นแหล่งกำเนิดของตะกอนมาจากหลายทาง เช่นตะกอนแผ่นดิน (Terrigenous Sediment) ประกอบด้วยอนุภาคที่เกิดสึกกร่อนผุพังของหิน ตะกอนคอกลูเวียม (Collurium Sediment) เป็นตะกอนบนที่ลาดเอียง ตะกอนอนินทรียสาร (Organic Sediment) ประกอบด้วยอนุภาคของซากพืช ซากสัตว์ ตะกอนไพโรคลาสติ (Pyroclastic Sediment) เป็นตะกอนที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟแล้วเกิดการตกจม



ลักษณะพื้นฐาน

มีลักษณะเป็นชั้น -แร่มีการลบเหลี่ยมมุมไปบ้าง และมีการคัดขนาดในหิน -เนื้อหินจะมีลักษณะของการถูกพัดพา หรือตกตะกอน -จะมีแร่ยิปซั่ม เฮไลต์ ซึ่งมาจากสารละลายที่เกิดจากการตกตะกอน -จะมีแร่ควอร์ตซ์ แคลไซต์ มาก -มีซากดึกดำบรรพ์ปะปนอยู่ -เป็นหินที่พบมากกว่าหินชนิดอื่น
การศึกษาเรื่องหินได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 สาขาที่สำคัญ คือการศึกษาเชิงธรณีวิทยา เพื่อให้รู้ถึงลักษณะการเกิด ประวัติ ความเป็นมาของหินการศึกษาเชิงวิศวกรรม เพื่อให้รู้ถึงคุณสมบัติของหินเพื่อจะนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ โดยทั่วไปการจำแนกประเภทหินแบ่งตามได้ ดังนี้ - หินอัคนี (Igneous Rock) - หินตะกอน (Sedimentary Rock) - หินแปร (Metamorphic Rock)




อ้างอิงจาก http://www2.srp.ac.th/~kasron02/tnvt.htm




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น